ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่วิชาสังคมศึกษา^-^

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดระเบียบทางสังคม

การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

สาเหตุที่ต้องจัดระเบียบทางสังคม

1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม

องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม

1. บรรทัดฐานของสังคม
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม 

โครงสร้างทางสังคม

สังคมมนุษย์แม้ว่าจะมีขนาดของสังคมหรือลักษณะเฉพาะของสังคมแตกต่างกัน แต่เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปหรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเบื้องต้นแล้ว ทุกสังคมต่างมีองค์ประกอบสำคัญอยู่บนพื้นฐานสองประการที่สำคัญคือกลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม

การศึกษาในเรื่องโครงสร้างทางสังคมจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง โครงสร้างทางสังคมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ 

สาเหตุของปัญหาสังคม

สาเหตุของปัญหาสังคม
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น 
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น 

เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น

องค์ประกอบของวัฒนธรรม

องค์ประกอบของวัฒนธรรม
        วัฒนธรรมเป็นผลจากการที่มนุษย์ได้เข้าควบคุมธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคม  ระบบความเชื่อ ศิลปกรรม
ค่านิยมและวิทยาการต่าง ๆ อาจแยก องค์ประกอบของวัฒนธรรมได้เป็น 4 ประการ
        1.  องค์มติ (concept)  บรรดาความคิด ความเชื่อ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ตลอดจนอุดมการณ์ต่าง ๆ
        2.  องค์พิธีการ (usage) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกในรูปพิธีกรรม

        3.  องค์การ (organization) หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ มีการวางกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับและวัตถุประสงค์ไว้อย่างแน่นอน
       4.  องค์วัตถุ (instrumental and symbolic objects) ได้แก่ วัฒนธรรมทาง วัตถุทั้งหลาย เช่น บ้าน โบสถ์ วิหาร รวมตลอดถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ

ความหมายของวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

แนวทางการปฎิบัติเป็นพลเมืองดี

  พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ
1)      ด้านสังคม  ได้แก่
(1)    การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น
(3)    การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
(5)    การเคารพระเบียบของสังคม
(6)    การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
2)      ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่
(1)    การประหยัดและอดออมในครอบครัว
(2)    การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
(3)    การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
(4)    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
(5)    การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
(6)    การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ
3)      ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่
(1)    การเคารพกฎหมาย
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
(3)    การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
(5)    การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 
      หรือสมาชิกวุฒิสภา

(6)    การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา

พลเมืองดีหมายถึง

ความหมายของ “พลเมืองดี” ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ  ดังนี้
                “พลเมือง”  หมายถึง  ชาวเมือง  ชาวประเทศ  ประชาชน
                “วิถี”  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน
                “ประชาธิปไตย”  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
                ดังนั้นคำว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย”  จึงหมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่น
ในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 
ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย

 

จุดประสงค์และหน้าที่ของรัฐ

จุดประสงค์ของรัฐ
ในอัคคัญญสูตรได้กล่าวถึงจุดประสงค์ของรัฐ พอสรุปได้ดังนี้
1. คุ้มครองคนดี ขจัดคนชั่ว
2. อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี
3. ลงโทษผู้กระทำผิดโดยการตำหนิ หรือเนรเทศออกจากสังคม
4. ทำให้สังคมเกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน โดยหลักธรรมาภิบาล
หน้าที่ของรัฐ
ในพระสูตรนี้ ได้กล่าวถึงหน้าที่ของผู้นำที่มหาชนคัดเลือก ดังนี้คือ
1. รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
2. ใช้อำนาจทางการบริหารโดยหลักธรรมรัฐ หรือธรรมาภิบาล
3. สร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

4. สร้างความสุขใจ และทำความพอใจให้เกิดแก่ประชาชน

รัฐหมายถึง

การจัดตั้งองค์กรทางการเมืองสืบเนื่องมาจากการที่มนุษย์รวมตัวกันขึ้นเป็นสังคม จุดเริ่มต้นของการรวมตัวเป็นสังคม คือ การรวมกลุ่มขึ้นเป็นครอบครัว จากกลุ่มครอบครัวขยายเป็นเผ่าชน หรือเป็นรูปแบบเหล่ากอ หรือโคตรตระกูล จากนั้นกลายเป็นนครรัฐ จากนครรัฐแปรสภาพเป็นจักรวรรดิ ซึ่งมีระยะเวลาคาบเกี่ยวกับนครรัฐ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มีการจัดองค์กรทางการเมืองเป็นรัฐประชาชาติ หรือ “รัฐ” “ชาติ” หรือประเทศ” ซึ่งเป็นการจัดรูปแบบองค์กรทางการเมืองในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ศัพท์ทั้ง 3 สามารถใช้แทนกันได้ บางครั้งเรียก “รัฐ” ว่า “ประเทศ” หรือ “ชาติ” เช่น ชาติไทย หรือประเทศไทย เป็นต้น ส่วนที่ใช้ความหมายเฉพาะแต่ละศัพท์ ซึ่งมีความโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง อาจมีความแตกต่างกัน คือ
ก. รัฐ เน้นความเป็นเอกราช หรือความเป็นอิสระที่มีอำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอก
ข. ประเทศ เน้นสภาวะทางอาณาเขต ดินแดน คือ สภาวะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศนั้นๆ ว่า มีรูปลักษณะเป็นอย่างไร
ค. ชาติ เน้นเชื้อสายเผ่าพันธุ์ ตลอดจนวัฒนธรรมของประชากรในชาตินั้นๆ
ความหมายของคำว่า “รัฐ” หมายถึง “ประชากรที่มาอยู่รวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่งทั้งชายและหญิง เป็นระยะเวลาอันยาวนาน รวมตัวกันเข้าเป็นสังคม มีความเป็นปึกแผ่น อยู่ในอาณาเขตที่แน่นอน มีขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม กฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นของตัวเอง มีผู้รับผิดชอบ โดยการใช้อำนาจในการปกครอง ควบคุมดูแลผลประโยชน์ของคนในสังคมให้เกิดความสงบสุขภายใน และป้องกันภัยอันตรายจากภายนอก

 

กฎหมาย หมายถึง

กฎหมาย คืออะไร
ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ
ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป 

การอุดช่องว่างของกฎหมาย

การอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี
   ๑.ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป
   ๒.มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
ตามพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม้มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป 
 

ลักษณะของสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

    1. สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน(Primary Right) มนุษย์ที่เกิดมาในโลก ต่างมีความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
           2. สิทธิส่วนบุคคล(Personal Right) เป็นสิทธิส่วนตัวของบุคคลที่ผู้อื่นจะล่วงละเมิดมิได้ เป็นพื้นที่ส่วนตัวของเเต่ละบุคคล
           3. สิทธิของพลเมือง(Civil Right) เป็นสิทธิของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองเเห่งรัฐ เป็นสิทธิที่เกี่ยวข้องตามกฏหมาของรัฐ ซึ่งสิทธิพลเมืองได้เเก่
               3.1 สิทธิทางสังคม (Social Rigth) เป็นสิทธิของประชาชนทางสังคมที่จะได้รับบริการจากสังคม ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม เช่น สิทธิการเข้าถึงการบริการสาธารนะ เป็นต้น
               3.2 สิทธิทางสวัสดิการสังคม (Social Welfare Right) เป็นสิทธิของประชาชนทุกคนที่จะได้รับสวัสดิการทางสังคม เช่น สิทธิการได้รับการศึกษา ฯลฯ
               3.3 สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Right) ได้เเก่ สิทธิเข้าร่วมในพิธีกรรม ประเพณีวัฒนธรรม ของประชาคมในด้านศิลปะต่างๆ

 

ความหมายและความสําคญของสิทธิมนุษยชน

 จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อ 1 ที่ระบุไว้ว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดามีที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย  สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่ง Highlights ได้แก่
(1) การติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)อาทิ การค้า การลงทุน ความร่วมมือไตรภาคี ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การท่องเที่ยว การศึกษาและวัฒนธรรม
(2) ชักชวนฝรั่งเศสมาลงทุนในโครงการ Mega-Projects ของไทย ซึ่งฝรั่งเศสให้ความสนใจโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติและระบบขนส่งมวลชน
(3) การลงนามในความตกลงและเอกสารต่างๆ จำนวน 12 ฉบับ แบ่งเป็น ความตกลงภาครัฐ 7 ฉบับ และภาคเอกชน 5 ฉบับ


1.3 ประธานาธิบดีจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส สมัยที่ 2 ในปี 2550 และมีการคาดคะเนว่า ประธานาธิบดีจะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งปธน.สมัยที่ 3 เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ และอาจสนับสนุนให้ นายกรัฐมนตรี Dominique de Villepin ซึ่งถือเป็นทายาททางการเมืองลงสมัครแทนเพื่อแข่งขันกับนาย Nicolas Sarkozy รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่จากเหตุการณ์ประท้วงร่างกม.แรงงาน CPE (ซึ่งอนุญาตให้นายจ้างสามารถปลดลูกจ้างอายุต่ำกว่า 26 ปีได้ในช่วง 2 ปีแรกของการทำงาน โดยให้ถือเป็นช่วงทดลองงานและไม่ต้องมีการอธิบายหรือแจ้งล่วงหน้าดังเช่นกฎหมายแรงงานทั่วไป) ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี de Villepin ได้ส่งผลให้คะแนนนิยมในตัว นายกรัฐมนตรี ลดลงอย่างมากและอาจทำให้ ประธานาธิบดีไม่มั่นใจว่าสมควรที่จะให้การสนับสนุนต่อไปหรือไม่


2. ความสัมพันธ์ไทย  ฝรั่งเศสโดยรวม

2.1 แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)
(1) ฝรั่งเศสได้หันมามองไทยด้วยสายตาใหม่ โดยการยกระดับสถานะและให้ความสำคัญแก่ไทยมากขึ้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสต่อ ASEAN ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากผลสำเร็จของการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของ นายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค.46 อันนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแผน 5 ปี (2547-2551) และลงนามโดย รมว.กต.ของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.47
(2) แผนปฏิบัติการฯ ครอบคลุมความร่วมมือในสาขาต่างๆ ทุกสาขา อาทิ ด้านการทหาร เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาและการต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน มีประเด็นที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 70
2.4 เทศกาลวัฒนธรรม ฝรั่งเศสได้จัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสในไทย ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 มิ.ย. -14 ก.ค.47 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-24 มิ.ย.48 และกำหนดจะจัดครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21 มิ.ย.- 8 ก.ค.49 ส่วนไทยกำหนดจะจัดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-31 ต.ค.49 ที่กรุงปารีสและเมืองลียง โดยได้ขอให้งานดังกล่าวอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่งขณะนี้ ยังรอผลการพิจารณาของฝ่ายฝรั่งเศส

2.5 ความร่วมมือด้านแฟชั่น (1) มีการลงนามใน MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(2) ไทยกำลังพิจารณาจัดตั้ง Thailand Fashion House ที่กรุงปารีส

2.6 ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการขยายมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันเป็น 2 เท่าภายใน 3 ปี (ปี 2551) โดยได้ตกลงกันให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสำหรับยกร่าง Roadmap ของแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจและการค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว (มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค.49) และให้มีการเพิ่มจำนวนวิสาหกิจฝรั่งเศส ในไทยจากจำนวน 350 บริษัท เป็นจำนวน 750 บริษัท ภายในระยะเวลา 3 ปี

2.7 ตัวเลขการค้า 2548 รวม 3,166.6 ล้าน USD ไทยขาดดุล 563.4 ล้าน USD


2.8 ฝรั่งเศสลงทุนในไทย 2548 14 โครงการ มูลค่ารวม 410 ล้านบาท                
2.9 ความร่วมมือไตรภาคี มีการลงนามในข้อตกลงจัดตั้งสำนักงานองค์กรเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลฝรั่งเศส (Agence Française de Développement- AFD) ในไทย เมื่อวันที่ 18 ก.พ.49 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะให้มีความร่วมมือในลาวและมาดากัสการ์ก่อนเป็นอันดับแรก

2.10 UNSG ฝรั่งเศสรับที่จะพิจารณาผู้สมัครของไทยอย่างจริงจัง (seriously consider)


ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
  การประสานประโยชน์                  
             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ 
             ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น    
    ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ

             อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้